Flex Message คือ ข้อความประเภทหนึ่งใน LINE ที่นักพัฒนาสามารถปรับแต่งได้อย่างอิสระ โดยสามารถกำหนดขนาดของข้อความ จัดวางรูปภาพและไอคอนต่างๆในตำแหน่งที่ต้องการได้ และยังสามารถเพิ่มปุ่มแบบโต้ตอบได้ผ่านการเขียนโค้ดแบบ CSS Flexible Box (CSS Flexbox)
เป็น "เครื่องมือ" ที่จะช่วยให้คุณออกแบบและสร้างข้อความประเภท Flex Message ได้โดยไม่ต้องเขียนโค้ด
หลังจากจบ Codelabs นี้ คุณจะสามารถสร้างนามบัตรแบบดิจิทัลในรูปแบบ Flex Message โดยใช้เครื่องมือ Flex Message Simulator
Flex Message Simulator คือ เป็น "เครื่องมือ" ที่จะช่วยให้คุณออกแบบและสร้างข้อความ Flex Message ได้โดยไม่ต้องเขียนโค้ด โดย Flex Message Simulator สามารถแสดงตัวอย่างข้อความที่เราสร้างได้โดยไม่จำเป็นต้องส่งข้อความนั้นออกไปจริงๆ และเมื่อสร้างเสร็จแล้ว สามารถคัดลอกโค้ดที่เป็น JSON ไปใช้งานต่อได้ทันที
เริ่มต้นโดยการเปิดเว็บไซต์ Flex Message Simulator แล้วล็อกอินด้วย LINE กันเลย!
Flex Message Simulator ประกอบด้วย 3 ส่วน:
ใน Flex Message Simulator มี Template ของ Flex Message ให้เลือกใช้งานหลากหลายรูปแบบ ถ้าหากคุณยังไม่มีไอเดียว่าจะออกแบบ Flex Message อย่างไร สามารถนำ Template หล่านี้ไปปรับใช้งานได้ต่อได้ทันที โดยเข้าไปเลือกได้ที่ปุ่ม Showcase มุมขวาบน แล้วเลือก Template ที่ต้องการใช้งาน จากนั้นกดปุ่ม Create
header
, hero
, body
และ footer
เมื่อมาถึงขั้นตอนนี้ คุณจะได้ Flex Message ที่ประกอบไปด้วยส่วนประกอบพื้นฐานต่างๆ ได้แก่ header
, hero
, body
และ footer
Header คือส่วนที่แสดงชื่อ หรือหัวข้อของข้อความของเรา
header
ใน Tree view เมื่อกดแล้วจะเห็นเป็นแถบไฮไลท์ที่คำว่า header จากนั้นกดปุ่มเครื่องหมายบวกที่มุมซ้ายบน แล้วเลือก box
เพื่อสร้าง box หรือกล่องข้อความขึ้นมาอีกอันหนึ่งภายใต้ header นี้backgroundColor
ได้โดยการกำหนดโค้ดสีได้ตามใจชอบ (สำหรับใน codelabs นี้เราจะใช้โค้ดสี #00B900) เมื่อทำการแก้ไขใน property เสร็จแล้วให้กดปุ่ม enter ทุกครั้ง ตอนนี้จะเห็นว่าพื้นหลังของข้อความ hello, world เปลี่ยนเป็นสีเขียวแล้วhello, world
text
ใน property แล้วเปลี่ยนข้อความเป็นชื่อบริษัทของคุณได้เลย text
แล้วใน property ยังมีเมนูให้เราปรับส่วนต่างๆของ Flex Message อีก เช่น color
หรือสีของ font (ใน Codelab นี้เราจะใช้สีขาว #FFFFFF) และลักษณะตัวหนังสือ weight
เราจะเลือกเป็นตัวหนา หรือ bold
มาถึงตรงนี้ถ้าคุณทำตาม 5 ขั้นตอนด้านบนก็จะได้ผลลัพธ์ตามตัวอย่างด้านล่างนี้
มาถึงขั้นตอนที่สำคัญที่จะทำให้นามบัตรของคุณสวยงามมากขึ้น นั่นก็คือการเพิ่มรูปลงไปนั่นเอง ซึ่งการเพิ่มรูปใน Flex Message Simulator นั้นเป็นอะไรที่ง่ายมากๆ เรามาลองทำตามขั้นตอนด้านล่างนี้กันเลย
hero
ให้ขึ้นเป็นแถบไฮไลท์เหมือนเดิม ซึ่ง hero จะเป็นตำแหน่งที่เรากำลังจะเพิ่มรูปเข้าไปนั่นเองimage
จะเห็นว่ามี layer ที่ชื่อ image เพิ่มเข้ามาใต้ hero และมีรูปภาพตัวอย่างแสดงอยู่ใน preview ซึ่งคุณสามารถเปลี่ยนเป็นอื่นๆก็ได้image
ใน tree view จะเห็นว่าใน Property view (ช่องขวามือ) มี option ต่างๆมากมายsize
แล้วเลือกขนาดที่ต้องการ สำหรับในตัวอย่าง codelabs นี้ จะเลือกเป็นขนาด xl
อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่สุดของนามบัตรคือ ชื่อผู้ติดต่อ ในขั้นตอนนี้เราจะมาตกแต่งข้อมูลติดต่อให้นามบัตรของคุณมีเอกลัษณ์เป็นของตัวเองกัน
vertical box
ที่อยู่ใต้ body
(Vertical Box มี 2 อันอย่าเลือกผิดอันนะ)hello, world
มาให้โดยอัตโนมัติhello, world
จากนั้นไปเปลี่ยนข้อความให้เป็น ชื่อ-นามสกุล ของคุณเอง โดยเข้าไปแก้ไขใน property ในช่อง text
align
แล้วเลือก centerเมื่อทำการตกแต่งเรียบร้อยแล้ว จะได้ผลลัพธ์หน้าตาประมาณนี้
ขั้นตอนต่อไปเราจะมาเพิ่มตำแหน่งงานของคุณซึ่งจะอยู่ใต้ ชื่อ - นามสกุล
vertical box
ที่อยู่ใต้ body
text
เพื่อสร้าง text อันใหม่ซึ่งจะอยู่ใต้ชื่อของคุณ ในขั้นตอนนี้เราจะได้ข้อความอัตโนมัติว่า hello, world
อีกเช่นเดิมhello, world
แล้วไปแก้ไข text
ใน property จากนั้นเปลี่ยนข้อความเป็นชื่อตำแหน่งงานของคุณalign
แล้วเลือก center
ชื่อตำแหน่งของเราก็จะอยู่ตรงกลางของนามบัตรพอดีจุดเด่นของ Flex Message ก็คือเราสามารถเพิ่มปุ่มที่เป็น Action ต่างๆเพื่อให้ผู้ใช้ทำการกดได้ สำหรับใน Codelab นี้ เราจะทำการเพิ่มปุ่มช่องทางการติดต่อและ link ของเว็บไซต์ลงไปใต้ Job title เพื่อให้นามบัตรมีความน่าสนใจและมีประโยชน์มากขึ้น โดยเราจะมาเริ่มวางโครงสร้างของปุ่มในนามบัตรกันก่อน
vertical box
ใต้ body
จากนั้น คลิก "+" ที่มุมบนซ้ายแล้วเลือก box
จะมี vertical box
อันใหม่ปรากฎขึ้นมาอยู่ใต้ชื่อตำแหน่ง Job Title ของเราพร้อมกับข้อความ hello, world
vertical box
ที่คุณเพิ่งสร้างขึ้นมาใหม่ จากนั้น คลิก "+" แล้วเลือก button
จะเห็นปุ่ม button
ที่ชื่อ action อยู่ใต้ hello, world
อีกทีhello, world
แล้วคลิกปุ่ม x สีแดงที่ด้านบนของ Tree view เพื่อลบส่วนนี้ออกให้เหลือแต่ action เท่านั้นสำหรับปุ่ม action เราสามารถกำหนด action ได้ 2 แบบคือจะเป็น URI action หรือ Postback action ก็ได้
สำหรับ Codelab นี้ เราจะเพิ่ม action ให้กับปุ่มทั้งหมด 2 ปุ่ม 2 แบบด้วยกัน
type
โดย default จะถูกกำหนดมาให้เป็น uri
เพื่อให้ user เปิด URL เว็บไซต์ของเราlabel
ช่องนี้จะเอาไว้กำหนดชื่อปุ่มที่จะปรากฎให้ผู้ใช้เห็น ซึ่งเราสามารถพิมพ์แก้ไขชื่อปุ่มได้ สำหรับใน Codelab นี้เราจะใช้ชื่อปุ่มว่า Visit our website
เมื่อผู้ใช้เห็นปุ่มนี้ก็จะรู้ทันทีว่าเมื่อคลิกแล้วจะต้องไปที่ website แน่ๆuri
จากนั้นใส่ URL ของเว็บไซต์คุณได้เลย! style
จะมีรูปแบบปุ่มให้คุณเลือก 3 แบบด้วยกันprimary
จะเป็นปุ่มสีเข้ม หรือในตัวอย่างนี้จะเป็นสีเขียวเข้มsecondary
เป็นปุ่มสีอ่อน หรือเทาอ่อน link
เป็นปุ่มเหมือน link HTML ทั่วไปใน Codelab นี้เราจะเลือกเป็นแบบ primary
เพื่อให้ปุ่มเว็บไซต์ของคุณโดดเด่นน่ากดมากขึ้น จะได้ผลลัพธ์ออกมาตามรูปด้านล่างนี้ ตอนนี้ Flex Message ของคุณก็มีปุ่มเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปเราจะไปสร้างอีก 2 ปุ่มที่เหลือกัน
LINE Front-end Framework (LIFF) เป็นเฟรมเวิร์กที่ให้คุณสามารถพัฒนาเว็บ แล้ว Integrate เข้ามาอยู่ในห้องแชทของ LINE ได้เลย โดยข้อดีของ LIFF ก็คือคุณสามารถรับส่งข้อมูลจากแพลตฟอร์มของ LINE ได้ เช่น userId, pictureUrl, displayName ของผู้ใช้งาน เป็นต้น
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ LIFF ดูเพิ่มเติมได้ที่ LINE Front-end Framework(LIFF) หากต้องการค้นหาวิธีพัฒนา LIFF app ดูเพิ่มเติมได้ที่ Developing a LIFF App หรือลองทำตาม Codelab ตัวนี้ได้เลย
vertical box
เดียวกันกับที่คุณสร้างปุ่ม Visit our website button
จะได้ปุ่ม action อันใหม่ขึ้นมาแล้วไปปรับเปลี่ยน lable หรือชื่อปุ่มใน Property view ให้เป็นคำว่า Register with us
.type
เป็น uri
แล้วใส่ link ที่เป็น LIFF เข้าไป หรือจะใช้ link ตัวอย่างนี้style
ของปุ่มเป็น secondary
ตอนนี้คุณก็จะได้ปุ่มที่สอง ที่สามารถ link ไปที่ LIFF เรียบร้อยแล้ว
Flex Message ของคุณสามารถกดโทรออกไปยังเบอร์โทรศัพท์มือถือ หรือเบอร์โทรศัพท์สำนักงานทั่วไปก็ได้ ซึ่งค่าใช้จ่ายในการโทรก็จะคิดตามแพ็คเกจที่ใช้งานตามปกติ วิธีการทำก็ง่ายๆ เริ่มต้นด้วยการสร้างปุ่ม Action ก่อน
vertical box
ช่องเดิมbutton
จะได้ปุ่ม action อันที่ 3 ขึ้นมาแล้วไปปรับเปลี่ยน lable หรือชื่อปุ่มใน Property view ให้เป็นคำว่า Call Us Now
.uri
เหมือนเดิม uri
ให้ใส่ค่า "tel:+66xxxxxxxx" หรือ รหัสประเทศไทย (+66) ตามด้วยเบอร์โทรที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น เบอร์โทร 0812345678 ให้ใส่เป็น +6681234567 โดยตัดศูนย์ตัวแรกออกสุดท้ายแล้ว ถ้าคุณมีปุ่มหลายๆปุ่มในหนึ่ง Flex Message จะเห็นว่าปุ่มที่แสดงจะค่อนข้างอยู่ติดๆกัน คุณสามารถไปกำหนดช่องว่างระหว่างปุ่มได้ โดยไปคลิกที่ vertical box
เลือก spacing
ให้เป็น md
เพียงแค่นี้คุณก็จะได้ระยะห่างที่สวยงามแล้ว
ให้ทำการคลิกปุ่ม </>View as JSON ที่มุมขวาบน (ตามรูปด้านล่าง) แล้วคุณจะเห็นโค้ดที่เป็น JSON จากนั้นสามารถคัดลอกโค้ดไปใช้งานต่อได้ทันที
ยินดีด้วย 🥳 ถึงตรงนี้คุณมีนามบัตรแบบดิจิทัลเรียบร้อยแล้ว!